สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มีเป้าหมายสำคัญประการหนึ่ง ในการจัดตั้ง “ศูนย์ การเรียนรู้ทางการวิจัย” ขึ้น ณ วช. เพื่อเป็นกลไกในการขยายผล “ความรู้จากการวิจัย” ในรูปแบบของกิจกรรมที่มีส่วนร่วมจากเครือข่ายการวิจัยต่างๆ ทั่วประเทศที่เชื่อมโยงมาจากงาน Thailand Research Expo ร่วมกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ อาทิ ทุนวิจัยนวมินทร์, Platinum Research Valley, 2-V Research Program, การต่อยอดและขยายผลการวิจัย, การส่งเสริมและสร้างแรงกระตุ้นแก่นักวิจัยและนักประดิษฐ์ เป็นต้น วช. จึงได้วางกลยุทธ์เพื่อผลักดันเป้าหมายในการจัดการความรู้และการกระจายความรู้อันมาจากผลผลิตทางการวิจัยและสิ่งประดิษฐ์สู่กลุ่มเป้าหมาย โดย วช. ได้จัดบริการทางวิชาการในรูปแบบของ “ศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย” โดยมีสถานที่ตั้งอยู่ ณ วช.
วิสัยทัศน์เป็นสถานที่ที่เชื่อมโยงการเรียนรู้ด้านการวิจัยของประเทศ
พันธกิจเพื่อสร้างกลไกการเรียนรู้ทางด้านการวิจัย รวมทั้งเน้นการมีกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงผู้เกี่ยวข้องในระบบวิจัยให้เข้ามีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
เป้าหมาย
- เพื่อแสดงนิทรรศการหมุนเวียนที่แสดงต้นแบบการเรียนรู้ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพร้อมด้วยผลผลิตการวิจัยและสิ่งประดิษฐ์
- เพื่อจัดสร้างศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย ที่เป็นประโยชน์ต่อภาคส่วนต่างๆในการวิจัย ณ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
- เพื่อแสดงบทบาทตามภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ในฐานะองค์กรหลักด้านการบริหารจัดการงานวิจัยของประเทศ
ด้านการให้บริการแก่สังคม
- เป็นศูนย์แสดงนิทรรศการหมุนเวียน และพิพิธภัณฑ์เสมือนของต้นแบบการเรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
- เป็นศูนย์แสดงนิทรรศการหมุนเวียนของงานวิจัยและงานสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับรางวัลจาก วช. และที่มีคุณภาพจากเครือข่ายการวิจัย วช.
- เป็นแหล่งให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
- ป็นแหล่งให้ข้อความรู้ทางการวิจัยในลักษณะต่างๆ ทั้งทางวิชาการและการใช้ประโยชน์ทางการวิจัยแก่เยาวชน นักวิจัย ว่าที่นักวิจัย นักพัฒนา และประชาชนทั่วไป
ด้านการวิจัย
- เป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านการวิจัยที่มีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย
- เน้นการเกิดความเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้ทางการวิจัย
- เน้นการเกิดความเชื่อมโยงระหว่างผู้เกี่ยวข้องในระบบวิจัยเพื่อเสริมสร้าง “สังคมและการเรียนรู้”
ลักษณะของการบริการศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัยมีแนวคิดในการจัดแบ่งส่วนการนำเสนอเป็น 3 ส่วน ดังนี้
1. ฝ่ายบริการทางการวิจัย
-
การถ่ายทอดความรู้เชิงนโยบายวิจัย งานวิจัยพื้นฐาน/เพิ่มผลผลิต/แก่นักวิจัย
- กิจกรรมการประชุม สัมมนา เสวนา และ Workshop เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามนโยบายการวิจัยของประเทศ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานส่งเสริมการวิจัยต่างๆ
- กิจกรรมการประชุม สัมมนา เสวนา และ Workshop ในประเด็น Hot Issue ที่มีความสำคัญของประเทศ
- กิจกรรมการเสวนาที่น่าสนใจจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
- กิจกรรมการประชุมเสวนาที่ร่วมจัดโดยเครือข่ายในระบบวิจัย
- การผลิตเอกสารสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางการวิจัยและบริการวิชาการ
-
การถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการวิจัย
- กิจกรรมถ่ายทอดความรู้ทางการวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์
- กิจกรรมการ Web-link, e-Journal และผู้ที่สามารถให้บริการในกิจกรรมทางการวิจัยผ่านระบบเครือข่าย Internet
- กิจกรรมถ่ายทอดความรู้ทางการวิจัยสู่กลุ่มเยาวชน เพื่อปลูกฝังการเรียนรู้ การใช้กระบวนการคิดทางการวิจัย
- กิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีจากเครือข่ายในระบบวิจัย
-
การให้คำปรึกษาทางด้านการวิจัย
- ศูนย์ให้คำแนะนำความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในรูปแบบต่างๆ
- บริการสืบค้นข้อมูลทางการวิจัยที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัย
- บริการระบบสมาชิกของศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย
2. พิพิธภัณฑ์เสมือน
- การจัดทำพิพิธภัณฑ์ระบบเสมือนต้นแบบการเรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจากงาน Thailand Research Expo
- การจัดทำพิพิธภัณฑ์ระบบเสมือนต้นแบบการเรียนรู้ของผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและได้รับการเชิดชูเกียรติคุณ
3. นิทรรศการหมุนเวียน
-
นิทรรศการหมุนเวียน
- ต้นแบบการเรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
- ต้นแบบผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับรางวัลจากสภาวิจัยแห่งชาติ
- นิทรรศการหมุนเวียนผลงานวิจัยและกิจกรรมวิจัยที่ได้รับรางวัลและมีคุณภาพจากหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัย
4. การจัดนิทรรศการภายในศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย
แท่นเฉลิมพระเกียรติ |
โครงการกังหันน้ำชัยพัฒนา |
หลักการทรงงาน |
โครงการฝนหลวง |
ผลงาน/รางวัล |
การให้บริการ |
ผู้สนใจสามารถเข้าไปได้ที่ http://rlc.nrct.go.th/